ทดสอบกลางภาคเรียน
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ -ความหมายของกฎหมาย มีผู้ให้คำนิยามไว้ดังนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ทรงอธิบายว่า "กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามต้องรับโทษ"
-ศาสตราจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์ อธิบายว่า "กฎหมาย ได้แก่ กฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติ ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้นและบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม"
-จอห์น ออสติน ปรัชญาเมธีชาวอังกฤษอธิบายว่า "กฏหมาย คือ คำสั่ง คำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งใช้บังคับบุคคลทั้งหลาย ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามโดยปกติแล้ว ผู้นั้นต้องรับโทษ"
จากคำนิยามของท่านผู้รู้ที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ดิฉันอาจสรุปได้ว่า กฎหมาย
คือ
บรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคล
เป็นข้อตกลงต่างๆที่ถือปฏิบัติร่วมกันและเข้าใจตรงกันทั้งประเทศ กฎหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือให้คนที่อยู่ร่วมกันสามารถใช้ชีวิตอยู่บนประเทศเดียวกันอย่างสันติสุข เป็นข้อตกลงที่เป็นการยอมรับเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เป็นกฎที่ถือว่ามีอำนาจในการปกครองประเทศ และจำเป็นที่คนทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม หากใครฝ่าฝืนหรือไม่ให้ความร่วมมือในกฎหมาย ก็จะถือว่าคนผู้นั้นมีความผิด สมควรได้รับโทษ และกฎหมายที่เราใช้ร่วมกันนั้นต้องยึดหลักความเสมอภาคของคนทุกคนในประเทศ ไม่เลือกบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพียงเพราะผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่สมควรที่จะเห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมือง และพลเมืองทุกคนในประเทศเป็นหลัก ไม่เอากฎหมายมาใช้ในทางทุจริตหรือเพื่อประโยชน์ส่วนตน กฎหมายที่ดีนั้น คนที่มีอำนาจทางกฎหมายไม่ควรเลือกปฏิบัติและสร้างประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ควรที่จะคำนึงถึงความเสมอภาคของทุกๆคนและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ ตามกฎหมาย พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้กำหนดให้
”วิชาชีพครู” เป็นวิชาชีพควบคุม ต้องมี "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" จึงจะเป็น "ครู" ได้ เช่นเดียวกับ หมอ หรือ วิศวกร ฯลฯ
ดังนั้นคนที่ทำหน้าที่ครู ไม่ว่าจะเป็นครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ
และเอกชน ก็สมควรต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะถือว่าเราทำตามข้อตกลงที่ใช้ร่วมกันในประเทศ ใบประกอบวิชาชีพมีความสำคัญมากๆ เพราะว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีจรรยาบรรณ ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกศิษย์ ไม่ใช่ว่าใครที่ไหนก็จะมาเป็นครูและทำหน้าที่นี้ได้ ฉะนั้นคนที่ทำหน้าที่ครูจึงต้องมีใบประกอบวิชาชีพทุกคน
เพื่อเป็นการยืนยันว่าเขาเหล่านั้น มีคุณสมบัติพอที่จะเข้ามาทำหน้าที่สร้างคนให้เป็นพลเมืองที่ดี อย่างมีคุณธรรมและยึดถือจรรยาบรรณของความเป็นครู ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ การระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นนั้น เราไม่ควรให้ความสำคัญเพียงพิจารณาเฉพาะงบประมาณ
การเงินและทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวไม่ได้
แต่เราสมควรที่จะให้ความสำคัญกับทรัพยากรในท้องถิ่น เช่น
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา การรวบรวมและใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชน
เป็นต้น สิ่งต่าง
ๆ เหล่านี้เป็นแหล่งทุนที่ทุกสถานศึกษามี แต่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์เท่าที่ควร อาจเป็นเพราะหลักสูตรการศึกษาเดิมที่กำหนดจากส่วนกลาง ทำให้เรามองแต่การเรียนรู้ในรูปแบบที่ส่วนกลางกำหนดไว้ จนมองข้ามความสำคัญของท้องถิ่นและทุนสำคัญทางสังคม ดังนั้นดิฉันคิดว่าเราควรมีการวางแผน รณรงค์ ส่งเสริมการระดมทุนการศึกษาและทุนในการพัฒนาการศึกษา จัดทำข้อมูลให้รายการการใช้จ่ายทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการด้านการเงินการบัญชี ให้เป็นไปตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างโปร่งใส
สามารถตรวจสอบได้
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาในระบบ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย
การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา
การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ เช่นเมื่อเด็กอายุถึงกำหนดก็จะต้องถูกเข้าโรงเรียนเพื่อทำหน้าที่หรือโดนบังคับให้เรียนต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะเข้าเรียนหรือไม่เรียนก็ได้
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553
มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ มาตรา ๑๐ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
(๑) สำนักงานรัฐมนตรี
(๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
(๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ซึ่งสำนักงานรัฐมนตรีจะเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ข้อที่ 1-3
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 8 และ มาตรา 11 แห่ง พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจเกี่ยวกับราชการทางการเมือง เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรี ประสานนโยบายระหว่างกระทรวง
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้
ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม
จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อ
1. พัฒนาวิชาชีพครูตามมาตรา 81
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2550 และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา
ตามมาตรา 9
(4) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
2. เพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช
2488 เป็นองค์กรวิชาชีพครูตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
และให้เป็นไปตามมาตรา 73
โดยกำหนดให้มี
2.1
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกชื่อว่า
“คุรุสภา” มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการพัฒนาวิชาชีพ
2.2
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ
ความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงการศึกษา
3. เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป
ที่มา http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538975872&Ntype=19
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ ผิด เพราะบุคลากรตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ไม่ได้มีหน้าที่ในการเข้าไปสอน แต่ถ้าไปสอนเมื่อไหร่ถือว่ากระทำผิดตามกฎหมายพระราชบัญญัติ
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
ตอบ เป็นการระวางโทษไว้เพื่อเป็นการลงโทษถ้าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากระทำผิด และตามมาตรา 96 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติ ตามข้อปฏิบัติทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัยจักต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดขั้นเงินเดือน
(4) ปลดออก
(5) ไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก
เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าใจของท่าน
ตอบ ตามความเข้าใจของดิฉัน
คำว่าเด็กคือ บุคคลที่อายุยังน้อย และไม่บรรลุนิติภาวะ
ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ในทุกๆด้าน ยังเป็นบุคคลที่สมควรได้รับความคุ้มครองจากผู้ใหญ่
เด็กเร่รอนคือเด็กที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ขาดผู้ปกครองและไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ จึงทำให้เด็กเร่ร่อนไปที่อื่นเรื่อยๆ เด็กกำพร้าคือ
เด็กที่ขาดพ่อแม่ ผู้ปกครอง
หรือพ่อแม่เสียชีวิต หรือไม่สามารถสืบหาตัวพ่อแม่ของเด็กได้ เด็กที่อยู่ในสภาพลำบากคือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจนและอาจได้รับความลำบาก ไม่ว่าจะเป็นการถูกกดเหนี่ยว กักขัง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด เด็กที่มีพฤติกรรมไม่สมควรและเข้าข่ายเสี่ยงต่อการกระทำผิต่างๆ เด็กอาจตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจากชุมชน และการคบเพื่อน ทารุณกรรมคือ
การกระทำที่ส่งผลให้เด็กมีความเสื่อมเสียทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การกระทำทารุณทางเพศ
การใช้พฤติกรรมที่เสื่อมเสียศีลธรรมต่อเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น