วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค


1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด  
พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ  
                กฎหมายรัฐธรรมนูญ  คือ กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ  กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชน (เน้นที่เนื้อหาสาระของกฎหมาย ครอบคลุมไปถึงรูปแบบของรัฐ,องค์กรที่ใช้อำนาจ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพ)
                พระราชบัญญัติ คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
                พระราชกำหนด   คือ กฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี) 
พระราชกำหนดเป็นรูปแบบหนึ่งของกฎหมายที่ฝ่ายบริหารคือ พระมหากษตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรีตราขึ้นโดยอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้
                พระราชกฤษฎีกา  คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล
ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร         
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
                ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่สำคัญสูงสุดของประเทศที่มี การปกครองในระบอบประชาธิปไตย การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเริ่มต้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขและประกาศใช้รัฐธรรมนูญหลายฉบับเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้อง กับภาวะการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้คือ ความซื่อสัตย์ และไม่หวังประโยชน์ส่วนตน ดังเช่นที่เราพบเห็นบ่อยๆในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญในแต่ละครั้ง จึงจะเห็นได้ว่ากลุ่มผลประโยชน์ต่างๆจึงพยายามอย่างยิ่งที่จะผลักดันใส่ข้อความที่ตนต้องการลงไปในรัฐธรรมนูญ ทั้งภาคประชาชน หรือ ในกลุ่มสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญเอง และการบัญญัติสิ่งใดลงในรัฐธรรมนูญมากเกินไปจนถึงขั้นรายละเอียดนั้นเป็นสิ่งไม่พึงกระทำ เพราะลักษณะของกฎหมายที่ดีอย่างหนึ่ง คือ บัญญัติหลักการไว้กว้างๆ และให้รายละเอียดออกมาเป็นกฎหมายลูกซึ่งออกได้ง่ายกว่า หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญ ดิฉันคิดว่าประเทศไทยคงจะวุ่นวายกว่านี้ เพราะขนาดมีกฎหมายออกมาบริหารประเทศแล้ว คนไทยก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆมากมาย เช่นเรื่องการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ และการปกครองล้วนแล้วแต่ยังประสบปัญหา และถ้าไม่มีกฎหมายมารองรับ ดิฉันคิดว่าประเทศไทยคงเป็นเมืองที่แย่ที่สุดในสายตาชาวโลก

3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
                ดิฉันคิดว่าไม่ควรแก้ไข เพราะประเด็นที่พวกเขาต้องการแก้ไขนั้นเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบัน ซึ่งมีการใช้แบบนี้มาตั้งนานแล้ว  ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ท่านครองราชย์มาจนมีพระชนมายุ 84 พรรษามาแล้ว แต่คนที่เป็นนักวิชาการอายุเพียงแค่ 30-40 ปีเรียนหนังสือจบมาแล้วมาแก้ไขอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นการไม่ให้ความเคารพสถาบัน โดยดิฉันมีความคิดเห็นว่าคนกลุ่มนี้กำลังใช้การแก้ไขกฎหมายเป็นเครื่องมือในการจุดชนวนให้คนไทยมีความขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งการที่จะแก้ไข ไม่ได้ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติแต่อย่างใด มากกว่าการช่วยเหลือพวกพ้องกลุ่มตัวเองแค่นั้น

4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดิน แดน
                ดิฉันคิดว่ามันเป็นการเสียสิทธิที่เราสมควรพึงจะได้ ซึ่งจริงๆแล้วที่ตรงนั้นใครก็อยากได้ครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย หรือประเทศกัมพูชา แต่มันต้องขึ้นอยู่กับความถูกต้องของหลักฐานในอดีต ซึ่งมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะความขัดแย้งจะกลายเป็นปม หรือชนวนก่อให้เกิดสงครามกันได้ แน่นอนว่าความขัดแย้งระหว่างสองประเทศ นั้นจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพียงแค่สองประเทศเท่า นั้น หากแต่ยังจะส่งผลกระทบเป็นโดมิโนไปยังประเทศและความร่วมมืออื่นๆ เพราะในกรณีของไทยกับกัมพูชานั้น ทั้งสองเป็นสมาชิกของอาเซียน และโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือจีเอ็มเอส  ดิฉันคิดว่าการแก้ไขปัญหานี้คือการยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือในหลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่กระนั้นก็เป็นการยากกว่าหากเราลองเปิดใจยอมรับ ในกฎเกณฑ์ธรรมชาติ คิดเสียว่าพื้นที่ตรงนั้น ก็คือภาพจินตนาการที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อที่จะบอกให้รู้ว่าเราได้อยู่ใช้ชีวิตตรงนั้นมานานแล้ว โดยไม่เคยมีปัญหากับคนสมัยโบราณ แต่คนสมัยนี้กลับใช้มันเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมความเป็นชีวิตสมัยนิยม เพราะแท้ที่จริงแล้วมันเป็นแค่เส้นเขตแดน มันพาดผ่านทอดทับหมู่บ้าน ผู้คน กลุ่มชน และครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆมานานแล้ว แต่แค่แยกให้เขา และเราออกจากกัน ว่าตรงนั้นเป็นประเทศเรา ตรงนี้เป็นประเทศเขา ไม่น่าจะเอาเรื่องแค่นี้ มาบั่นทอนหรือเป็นชนวนทำลายสัมพันธภาพอันดีระหว่างเพื่อนบ้านกันเลย สิ่งเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ในการแก้ปัญหาเรื่องดินแดนคือการล้างใจมนุษย์ไม่ให้ยึดติดกับสิ่งใดก่อน

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
                ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม หากเรามีข้อกำหนด หรือข้อตกลงร่วมกัน ก็ย่อมเกิดผลดีมากกว่าการไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย และเรื่องของการศึกษาก็เช่นกันสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตั้งกฎหมายมาใช้ในการศึกษาเพื่อให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีระเบียบและแบบแผน ซึ่งในกฎหมายจะมีการบัญญัติแนวทางในการจัดการศึกษา การบริหารและการจัดการศึกษาทั้งของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาและต่างๆอีกมากมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อด้านการศึกษา มีการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีในการศึกษา ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นแบบแผนให้ประเทศไทยมีการศึกษาที่เป็นระบบ และพัฒนาเด็กและกำลังของชาติให้มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ที่มีไปพัฒนาประเทศต่อไป

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกัน คุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา   ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา  
สถานศึกษา
                การศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
             การศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
                การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า  การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
                การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษาในระบบเช่นนี้ หมายถึงการศึกษาที่จัดรูปแบบไว้แน่นอนเป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน ส่วนใหญ่จัดในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ซึ่งเรารู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว การศึกษาในระบบอาจจัดในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกลก็ได้
                การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มตัวอย่างของการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ เป็นต้น
                การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ การศึกษารูปแบบนี้มีความยืดหยุ่นสูง เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเรียนรู้สามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจเป็นประโยชน์กับตนได้ และสามารถใช้เวลาที่ปลอดจากภารกิจการงานอื่นศึกษาเล่าเรียนได้ จึงเรียกว่าเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้รูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัยมีหลากหลาย เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชม การชมการสาธิต การรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ การสืบค้นเนื้อหาสาระจากอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากรัฐมีหน้าที่ร่วมกับชุมชนจัดแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารและครูควรเข้ามามีส่วนใกล้ชิดร่วมมือกับประชาชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยรูปแบบวิธีการต่างๆ
                สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  หมายความว่า  สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                มาตรฐานการศึกษา  หมายความว่า  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดในสถานศึกษาและเพื่อใช้เป็นหลักเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจ-สอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพ                                                                
                การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล                                                                                                                                       
                การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
                ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ครู หมายความว่า  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
                คณาจารย์  หมายความว่า  บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
                ผู้บริหารสถานศึกษา  หมายความว่า  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน
                บุคลากรทางการศึกษา  หมายความว่า  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษารวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
                สถานศึกษา หมายความว่า  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียนวิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
ดิฉันคิดว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งการจัดการศึกษา ต้องยึดหลักดังนี้
1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
สำหรับเรื่องการจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ต้องยึดหลักดังนี้
1) มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุก ระดับและประเภท
4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
ซึ่งทั้งหมดนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวครูผู้สอน เพราะครูผู้สอนต้องมีการวางแผนและหลักการในการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด มีการพัฒนาสื่อการสอน และแผนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอในด้านของงานวิชาการและกิจกรรมต่างๆ

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
ดิฉันคิดว่าน่าจะมีการสอบถามความประสงค์ของตัวผู้สอนเสียก่อน หากว่ามีการกระทำที่ขัดแย้งหรือผิดกฎหมายจริงก็สมควรได้รับการตักเตือนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากไม่ผิดกฎหมายก็สมควรได้รับคำแนะนำในการขอใบประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้ความรู้ในเรื่องนี้แก่ผู้ที่ยังไม่รุ้

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
                (1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
              (2) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
              (3) ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
              (4) ต้องเป็นผู้ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ ตามกลุ่มวิชา/สาขาวิชาเอก
              (5) ไม่เป็นพระภิกษุสงฆ์ หรือสามเณร นักพรต นักบวช

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้างครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
                ดิฉันชื่นชอบในแนวคิดและหลักการในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานี้มาก โดยเฉพาะในเรื่องของการนำ Weblog มาใช้ เพราะวิชานี้เป็นวิชาที่ยากและค่อนข้างน่าเบื่อสำหรับนักศึกษาที่เรียนเกี่ยวกับภาษา แต่อาจารย์กลับนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งมีความแปลกใหม่และทันสมัย จึงทำให้การเรียนในห้องดูไม่น่าเบื่อ เพราะนักศึกษาทุกคนก็ชื่นชอบในการใช้อินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว และไม่จำเจไม่ต้องมานั่งเปิดหนังสืออ่าน แต่เราสามารถโหลดไฟล์ต่างๆมาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์และเปิดอ่านในสิ่งที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้ ดีกว่าการพกกระเป่าที่บรรจุเอกสารหรือหนังสือต่างๆไว้มากมาย ไม่ต้องมานั่งเขียนรายงายให้เมื่อยมือ แต่เราสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาจัดการกับการเรียนรู้ของเราได้อย่างดี มีการเผยแพร่บทความเกี่ยวกับการศึกษาไว้ให้คนอื่นที่สนใจได้ศึกษาต่อๆกัน  ดิฉันให้เกรดเอค่ะ เพราะเรียนแบบสบายๆมาก ไม่เครียด ไม่กดดันและที่สำคัญอาจารย์ใจดีค่ะ คุยสนุก  ดิฉันอยากได้เกรดเอค่ะ หวังไว้มากๆเลย ดิฉันพยายามทำ Blog ออกมาให้ดีที่สุด แต่ก็ติดขัดเรื่องอินเตอร์เน็ตที่หอนี่แหละค่ะ ช้ามาก บางวันก็ทำอะไรไม่ได้เลย

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 9


1. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา 
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา 
ประกาศวันที่ 30 กันยายน พ.. 2547 โดยนายอดิศัย โพธารมิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือ
                เมื่อมีผู้มาบริจาคทรัพย์สิน ไม่ว่าจะรายเดียวหรือหลายส่วนให้แก่ข้าราชการจะต้องให้ผู้ดำรงตำแหน่งตามที่แต่งตั้งตอบขอบคุณและแสดงความอนุโมทนา ออกประกาศเกียรติคุณบัตรเท่านั้น

2.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสาร พ.ศ.2548
                ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสาร
ประกาศ ณ วันที่ 29กันยายน  พ..2548 โดย  นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือ
                การประชาสัมพันธ์ หรือการให้ข่าวราชการเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติงานประจำของส่วนราชการให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ หรือให้ข่าวราชการ

3. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
                ระเบียบกระทรวงศึกษา ว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.. ๒๕๕๐
ประกาศใช้ วันที่ 3 มกราคม พ.. 2550 โดย  นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือ
                สถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นในชุมชนใดต้องมีจำนวนนักเรียน ดังต่อไปนี้ ระดับประถมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมาเข้าเรียน ถ้ามีนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่ถึงยี่สิบห้าคน แต่มากกว่าสิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของ
สถานศึกษาอื่น ระดับมัธยมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะมาเข้าเรียนชั้นละไม่น้อยกว่าแปดสิบคน
ถ้ามีนักเรียนไม่ถึงชั้นละแปดสิบคน แต่มากกว่าสี่สิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น
สถานที่ที่จะจัดตั้งสถานศึกษาต้องเป็นที่ดินที่มีหลักฐานอนุญาตให้ใช้ ตามประเภทของ
ที่ดินอย่างถูกต้อง จำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าไร่ สถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องอยู่ห่างจากสถานศึกษาประเภทเดียวกัน ที่ตั้งอยู่เดิมไม่น้อยกว่าหกกิโลเมตร ตามเส้นทางคมนาคมให้บุคคล นิติบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ยื่นคำร้องขอให้จัดตั้งสถานศึกษาต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

4.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ พ.ศ.2548
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ พ.ศ.2548
ประกาศใช้ วันที่ 30 กันยายน พ.. 2548 โดยนายจาตุรนต์  ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือ
                ผู้กำกับสอบต้องปฏิบัติตามแบบแผนเกี่ยวกับการสอน ไปถึงสถานที่เริ่มสอบตามสมควร หากไม่สามารถปฏิบัติได้ด้วยเหตุผลใดๆ ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยด่วน กำกับการสอบให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่อธิบายคำถามใดๆให้แก่ผู้เข้าสอบ ไม่กระทำการใดๆอันเป็นการทุจริต หรือถ้ากระทำผิดจะต้องได้รับการพิจารณาโทษจากผู้บังคับบัญชา


5.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา   พ.ศ.2548
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องอะไร   การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  ประกาศใช้วันที่ 18 มกราคม พ.. 2548
โดยนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือ
                โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี 4 สถาน ดังนี้
(1) ว่ากล่าวตักเตือน
(2) ทำทัณฑ์บน
(3) ตัดคะแนนความประพฤติ
(4) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษ
ด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรง
ของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมาย
เป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา

6.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน .. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
                สถานศึกษาใดมีความจำเป็นต้องกำหนดเวลาทำงานหรือวันเวลาราชการประจำสัปดาห์นอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ ให้สถานศึกษาเป็นผู้กำหนดและรายงานต้นสังกัดทราบ ทั้งนี้ต้องมีเวลาทำงานสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 35 ชั่วโมง

7.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
                การตั้งชื่อสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาให้ใช้ คำว่า โรงเรียน หรือวิทยาลัย เป็นคำขึ้นต้นและต่อด้วยชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบลหมู่บ้าน วัด ชื่อ บุคคล ผู้ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์หรือสถานที่อื่นใด

8.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของ สถานศึกษา พ.ศ.2549
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของ สถานศึกษา พ.ศ.2549
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
                การตั้งชื่ออาคารของสถานศึกษา ซึ่งมีผู้บริจาคให้สร้างอาคารทั้งหลัง โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ในอาคาร ควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค การตั้งชื่อห้องซึ่งผู้บริจาคทรัพย์ สร้างโดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นพึงประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่ห้องควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค การที่มีผู้จัดซื้อให้ หรือบริจาคเพื่อซื้ออุปกรณ์โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้จัดซื้อหรือผู้บริจาคนั้น ประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่อุปกรณ์ให้เป็นไปตามความประสงค์จะจารึกชื่อและผู้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์เห็นชอบด้วย ให้จารึกชื่อผู้บริจาคนั้นไว้ที่อุปกรณ์

9.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2547
                ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียน และนักศึกษา พ.ศ.2547 ประกาศใช้ วันที่ 30 กันยายน 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ) มีเนื้อหาสาระดังนี้
                ในกรณี วัน เดือน ปี เกิดของนักศึกษาผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาเขียนผิดพลาดหรือเขียนตก ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงในหลักฐาน และแก้ไขขีดฆ่าด้วยน้ำหมึกสีแดงโดยประณีตและเขียนด้วยตัวบรรจงใหม่ด้วยเส้นหมึกสีแดง โดยลงนามผู้แก้ วัน เดือน ปี กำกับเอาไว้ด้วยทุกแห่ง ในกรณีที่วัน เดือน ปีของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดและมีผู้ร้องขอให้แก้ผู้ร้องจะต้องส่งคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้  และเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อสถานศึกษา ดังนี้ 1. สูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิด 2. ถ้าเอกสารตามข้อที่ 1 สูญหายให้ส่งเอกสารอื่นๆที่ราชการออกให้

10.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
                ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546 ประกาศใช้ วันที่ 7 กรกฎาคม 2546ผู้ลงนามในระเบียบ ปองพล อดิเรกสาร (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ) มีเนื้อหาสาระดังนี้
                ให้สถานศึกษามีหน้าที่ปกครองดูแล บำรุง รักษา และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กับสถานศึกษา เว้นแต่การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา ต้องไดรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ เมื่อจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ตามข้างต้นแล้ว ให้สถานศึกษารายงานให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบโดยเร็ว ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา เลขาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาจวางระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศตามข้างต้นก็ได้

11.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548
                ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอก สถานศึกษา พ.ศ.2548 ประการใช้ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ) มีเนื้อหาสาระดังนี้
                การพานักเรียนออกไปนอกสถานศึกษาทุกประเภทให้ปฏิบัติดังนี้ ให้หัวหน้าสถานศึกษากำหนดครูผู้ช่วยต่อนักเรียนจำนวนไม่เกิน 30 คน ถ้านักเรียนนักศึกษาเป็นผู้หญิง ให้มีครูผู้คุมเป็นผู้หญิงไปด้วยตามความเหมาะสม ผู้ควบคุมต้องดูแลความประพฤติของนักเรียนให้อยู่ในความควบคุมอย่างเหมาะสม เรียบร้อยและเป็นไปด้วยความปลอดภัย ห้ามผู้ควบคุมชักชวนนักเรียน หรือผู้ขับยานพาหนะ เสพของมึนเมา หรืยาเสพติดโดยเด็ดขาด ให้ผู้ดูแลเลือกยานพาหนะที่มีความแข็งแรงเหมาะสมกับการเดินทาง

12.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2547
                ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและ อบรมภายในประเทศ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ประกาศใช้ วันที่ 30 กันยายน 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ มีเนื้อหาสาระดังนี้
                ข้าราชการครูต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า24 เดือนเต็ม แต่ ไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจาเป็นอย่างยิ่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอานาจอนุญาติเป็นรายๆ ไป มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา        
13.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548
                ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ใน สถานศึกษา พ.ศ.2548.ประการใช้ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ) มีเนื้อหาสาระดังนี้
                ให้สถานศึกษาต่าง ๆ ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมสหกรณ์ขึ้นในสถานศึกษาโดยให้มีครูอาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในสถานศึกษาเป็นสมาชิก ในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา ให้มุ่งถึงประโยชน์ทางการศึกษาเป็นประการสำคัญ เงินที่ใช้ในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่าเงินกิจกรรมสหกรณ์ไม่ใช่เงินบำรุงการศึกษา และอยู่นอกการควบคุมของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. 2520 ให้จัดทำบัญชีตามวิธีการของสหกรณ์แต่ละประเภท โดยอยู่ในความควบคุมของสถานศึกษา สถานศึกษาใดเริ่มจัดกิจกรรมสหกรณ์เมื่อใดสำหรับสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคให้รายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบสำหรับสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางหรือขึ้นตรงกับส่วนกลางให้รายงานอธิบดีเจ้าสังกัดทราบ สถานศึกษาใดเลิกจัดกิจกรรมสหกรณ์เมื่อใด ให้รายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีเจ้าสังกัด ตามความทราบ แล้วแต่กรณี ข้อบังคับของกิจกรรมสหกรณ์แต่ละประเภท ให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษากำหนด ให้สถานศึกษารายงานผลการดำเนินงาน สถานะการเงินและงบดุลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีเจ้าสังกัดทราบทุกปี หลังการประชุมใหญ่ประจำปี กิจกรรมสหกรณ์ประเภทใดของสถานศึกษาใด ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อนวันใช้ระเบียบนี้ ให้ถือว่าการดำเนินการกิจกรรมสหกรณ์ประเภทนั้นของสถานศึกษานั้นมีผลสมบูรณ์

14.หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทาง ราชการ พ.ศ.2550
                หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทาง ราชการ พ.ศ.2550 .ประการใช้ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550ผู้ลงนามในระเบียบ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) มีเนื้อหาสาระดังนี้
                แก้ไขบทบัญญัติที่อ้างอิงให้ถูกต้องสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547  รวมทั้งปรับปรุงถ้อยคำของหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติบางส่วนให้มีความชัดเจนและเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น บทบัญญัติที่อ้างฐานอำนาจให้ออกหลักเกณฑ์ฯ จากเดิมที่อ้างตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  เปลี่ยนเป็นพระราชกฤษฎีกาเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 เป็นต้น

 15.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
                ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 ประการใช้ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผู้ลงนามในระเบียบ วิจิตร ศรีสอ้าน (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ) มีเนื้อหาสาระดังนี้
                การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสมการขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ไม่น้อยกว่า 40 คน ต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีครูเพียงพอในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก สถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะรองรับการจัดการ ศึกษา

16.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
                ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550.ประการใช้ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550 ผู้ลงนามในระเบียบ วิจิตร ศรีสอ้าน (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ

17.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548
ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย  โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
                เจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการเพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาดังต่อไปนี้ สอบถามครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษา เกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษา นิสัยและสติปัญญาของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาเรียกให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษานั้นกำลังศึกษาอยู่มารับตัวนักเรียนหรือนักศึกษา เพื่อว่ากล่าว อบรม สั่งสอน ต่อไป ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในเรื่องการอบรมและสั่งสอนนักเรียนหรือนักศึกษา เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือนหรือทำทัณฑ์บนว่าจะปกครองดูแลมิให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาอีก สอดส่อง ดูแล รวมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล หรือแหล่งที่ชักจูงนักเรียนและนักศึกษาให้ประพฤติในทางมิชอบ
ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น

18.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง เครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผู้ลงนามในระเบียบ นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
                ให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษากำหนดให้รายละเอียดเกี่ยวกับการแต่ง  วิธีการ  และเงื่อนไขในการแต่งเครื่องแบบนักเรียนดังนี้ ชนิดและแบบของเครื่องแบบ รวมทั้งจัดทำรูปเครื่องแบบตามระเบียบนี้ไว้เป็นตัวอย่างเครื่องหมายของสถานศึกษาการกำหนดรายละเอียดตามวรรคหนึ่งให้สถานศึกษาขอความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง  หรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้น  แล้วแต่กรณี  และประกาศให้นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนทราบสถานศึกษาใดมีความประสงค์จะขอใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กำหนดในระเบียบนี้ให้ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งหรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้นแล้วแต่กรณีสถานศึกษาใดจะกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลูกเสือ  เนตรนารี  ยุวกาชาด  นักศึกษาวิชาทหารหรือแต่งชุดพื้นเมือง  ชุดไทย  ชุดลำลอง  ชุดฝึกงาน  ชุดกีฬา  ชุดนาฏศิลป์  หรือชุดอื่น ๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ในวันใด  ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความประหยัดและเหมาะสมในกรณีมีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษให้สถานศึกษาพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียนได้ตามความเหมาะสมนักเรียนซึ่งศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แต่งกายสุภาพนักเรียนผู้ใดไม่แต่งเครื่องแบบนักเรียนโดยไม่ได้รับยกเว้นตามระเบียบนี้ให้สถานศึกษาพิจารณาลงโทษทางวินัยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนตามความเหมาะสมสถานศึกษาใดที่ใช้เครื่องแบบนักเรียนอยู่แล้วตามระเบียบเดิม  หรือใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไปให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้  และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

19.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง หลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับหลักฐานในการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับเพื่อเป็นการเปิดโอกาสแก่บุคคลให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อหาสาระดังนี้
                การรับนักเรียนนักศึกษาในกรณีที่ไม่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษามาก่อน ให้สถานศึกษาเรียกหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำดับเพื่อนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา ดังต่อไปนี้
1.สูติบัตร
2.กรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1 ให้เรียกหนังสือรับรองการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน
3.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน หรือหลักฐานที่ทางราชการจัดทำขึ้นในลักษณะเดียวกันในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1หรือ 2ให้เรียกหลักฐานที่ทางราชการออกให้ หรือเอกสารตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ได้
4.ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1 2 และ 3ให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือองค์กรเอกชนทำบันทึกแจ้งประวัติบุคคล ตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้ เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา
5.ในกรณีที่ไม่มีบุคคล หรือองค์กรเอกชนตามให้ซักถามประวัติบุคคลผู้มาสมัครเรียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำลงรายการบันทึกแจ้งประวัติบุคคลตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา

20.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อหาสาระดังนี้
                การปิดเรียนกรณีพิเศษ คือ ปิดเพราะใช้สถานที่จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดอบรมสัมมนา เข้าค่าย พักแรม หรือกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือกรณีอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเปิดเรียนตามปกติได้ ผู้อำนวยการโรงเรียน สั่งปิดได้ไม่เกิน 7 วัน โดยต้องมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร แต่สั่งด้วยวาจาก่อนในกรณีจำเป็นได้ แต่ต้องจัดทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้เรียบร้อยภายใน 3 วัน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ฯสั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วัน
ว่าด้วยการปิดเรียนเหตุพิเศษ คือเหตุจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ผอ ร.ร.สั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วัน ผอ.สำนักงานเขตฯ สั่งปิดได้ไม่เกิน 30 วัน หากปิดครบแล้วเหตุการณ์ยังไม่สงบจะสั่งปิดต่อไปอีกได้โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระหว่างปิดนั้น ผอ. ร.ร.จะสั่งให้ครูมาปฏิบัติราชการด้วยก็ได้ ปิดแล้วต้องจัดวันเปิดสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนวันเปิดเรียนปกติที่ปิดไปด้วย

21.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ.2550
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทน การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ.2536 ให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้น ผลสัมฤทธิ์ และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2550 ผู้ลงนามในระเบียบ นายปรีดิยาธร เทวกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีเนื้อหาสาระดังนี้
                 “เวลาราชการหมายความว่า เวลาระหว่าง 08.30 ถึง 16.30 น. ของวันทำการ และให้หมายความรวมถึงช่วงเวลาอื่นที่ส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะทำหรือเป็นอย่างอื่นด้วยวันทำการหมายความว่า วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และให้หมายความรวมถึงวันทำการ ที่ส่วนราชการกำหนดเป็นอย่างอื่นด้วยวันหยุดราชการหมายความว่า วันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ที่ส่วนราชการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงวันหยุดราชการประจำปีหรือวันหยุด
พิเศษอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการนอกเหนือจากวันหยุดราชการประจำปี
การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะหมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ของข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆ ซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการของข้าราชการผู้นั้น ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่าแปดชั่วโมง โดยรวมเวลาหยุดพักการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายก่อนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยให้พิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็นต้องอยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในครั้งนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ของงานราชการเป็นสำคัญ และให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบและวิธีการจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกรณีที่มีราชการจำเป็นเร่งด่วนต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

22.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549 
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง สมุดหมายเหตุรายวัน  พ.ศ.2549 
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
                การลงทะเบียนนักเรียน ตามปกติต้องลงด้วยปากกาหมึกซึมสีดำ ห้ามการขูดลบเพิ่มเติม ถ้าเขียนผิดพลาดหรือตก จำเป็นต้องแก้ไข ก็ให้ขีดฆ่าด้วยปากกาหมึกซึมสีแดงโดยประณีต แล้วเขียนใหม่ด้วยปากกาหมึกซึมสีแดง การแก้ไขให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไข แล้วลงนาม วัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง กับให้ลงบันทึกแสดงเหตุผลที่แก้ไว้ในสมุดหมายเหตุรายวันด้วยการลงทะเบียนนักเรียนลงแล้วให้เป็นแล้วไป จะคัดลอกขึ้นหน้าใหม่ไม่ได้นอกจากได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานเจ้าสังกัดที่สูงกว่าสถานศึกษาชั้นหนึ่ง สถานศึกษาเอกชนที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการกองทะเบียน ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคต้องได้รับอนุญาตจากศึกษาธิการอำเภอ

23.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ.2538
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ผู้ลงนามในระเบียบ นายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีเนื้อหาดังนี้
                ขั้นตอนการดำเนินการศึกษาต่อภายในประเทศ  ภาคปกติ ประเภท ก
1.  สพฐ. พิจารณาโควตาประเภท ก ที่ได้รับการจัดสรรจากสถาบันการศึกษาให้สพท. ตามความเหมาะสม
2.  สพท. ประสานงานกับสถาบันการศึกษา  เพื่อขอโควตา ประเภท ก เพิ่ม และดำเนินการคัดเลือกตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ สพฐ. กำหนด
3.  โรงเรียนประสานกับสถาบันการศึกษา เพื่อขอโควตาประเภท ก เพิ่ม และดำเนินการคัดเลือกตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ สพฐ. กำหนด
4.  สพท. แจ้งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกไปยังสถาบันการศึกษาโดยตรงพร้อมทั้งแจ้งผู้ได้รับ        การคัดเลือกไปดำเนินการตามขั้นตอนของสถาบันการศึกษาและรายงานสพฐ. ทราบ
5. ขั้นตอนการดำเนินการลาศึกษาของข้าราชการ
5.1 ข้าราชการขออนุญาตลาศึกษาต่อผู้มีอำนาจอนุญาต
5.2 จัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกันตามแบบที่กำหนด
6. ขั้นตอนการดำเนินการของผู้มีอำนาจอนุญาต (ผู้บริหารสถานศึกษา/สพท./สพฐ.)
6.1 จัดทำคำสั่งให้ไปศึกษาต่อ
6.2 จัดทำหนังสือส่งตัวข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษา ไปยังสถาบันการศึกษา

24.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ
(ฉบับที่2) พ.ศ.2547
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่2) พ.ศ.2547 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย  โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
                คุณสมบัติผู้ลาศึกษาต่อ
1.  ต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24เดือนเต็ม แต่ไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจำเป็นอย่างยิ่ง  จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป
2.  มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษากรณีอายุเกิน 45 ปี  จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายทั้งนี้ต้องมีเวลากลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนครบก่อนเกษียณอายุราชการ
3.ปฏิบัติราชการด้วยดี มีความประพฤติเรียบร้อย และไม่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย         ในกรณีที่ถูกลงโทษทางวินัย ระดับโทษต้องไม่สูงกว่าโทษภาคทัณฑ์   ข้าราชการที่ถูกลงโทษตัดเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อพ้นโทษตัดเงินเดือนแล้ว หรือถ้าเป็น   ผู้ถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ข้าราชการที่อยู่ในระหว่างลาศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ  จะสมัครสอบหรือสอบคัดเลือกเพื่อไปศึกษา หรือฝึกอบรมอื่นใดมิได้
4.มีคุณสมบัติและพื้นความรู้ตามระเบียบที่สถาบันการศึกษานั้นๆ กำหนดไว้
5.ข้าราชการที่เคยได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อภาคปกติ หรือศึกษาต่อต่างประเทศแล้วจะศึกษาต่ออีก ต้องกลับไปปฏิบัติราชการตามที่กำหนดในข้อ 1 กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการซึ่งกลับมาปฏิบัติราชการไม่ครบตามกำหนดไปศึกษาต่ออีก  จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป จำนวนผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อ ต้องไม่เกิน 5% ของจำนวนข้าราชการ ในสถานศึกษา หรือ หน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้ รวมทั้งข้าราชการที่กำลังศึกษาต่ออยู่ภายในประเทศและต่างประเทศด้วย เศษถึงครึ่งให้ปัดเป็น 1 คน (ไม่นับฝ่ายบริหาร) และข้าราชการที่เหลืออยู่จะต้องสอนไม่เกินคนละ 22 คาบต่อสัปดาห์ ในหมวดวิชานั้นๆ หรืออยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาตสถานศึกษาหรือหน่วยงานใด มีข้าราชการจำนวนน้อย และคิดเป็นโควตาไม่ได้ แต่มีผู้สอบคัดเลือกเพื่อศึกษาต่อได้ ให้ศึกษาต่อได้โรงเรียนหรือหน่วยงานละไม่เกิน 1 คน

25.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือ รับรองความรู้ของสถานศึกษา
พ.ศ.2547
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อหาสาระดังนี้
                การออกหนังสือรับรองความรู้ สถานศึกษาจะออกได้เฉพาะในกรณีที่สถานศึกษาไม่สามารถออกใบสุทธิให้หรือสำเนาต้นขั้วใบสุทธิให้ได้เท่านั้น ซึ่งอาจมีเหตุจากต้นขั้วใบสุทธิสูญหายหรือไม่ปรากฏหลักฐานการออกใบสุทธิ หรือไม่ปรากฏหลักฐานอื่นใด เมื่อสถานศึกษาใด พบกรณีดังได้กล่าวมานี้ต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547 ข้อ 6 มีขั้นตอนการปฏิบัติให้สถานศึกษาไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานก่อน กล่าวคือสอบสวนให้ได้ความจริงว่า บุคคลผู้มาขอหนังสือรับรองความรู้จบการศึกษาในสถานศึกษานั้นจริงหรือไม่อาจสอบสวนหาพยานหลักฐานเอกสารก่อน หากไม่ปรากฏร่อยรอยจากพยานเอกสารเลยก็จำเป็นต้องหาพยานหลักฐานจากพยานบุคคล สถานศึกษาต้องไต่สวนจนกระทั่งได้หลักฐานเพียงพอว่าบุคคลนั้นจบการศึกษาจริง แล้วรายงานผลการไต่สวน ให้หน่วยงานต้นสังกัดเหนืออีกชั้นหนึ่งพิจารณาว่าเห็นควรให้ออกหนังสือรับรองความรู้ ให้หรือไม่ หากเห็นว่าหลักฐานเชื่อถือได้ ก็จะอนุญาตให้สถานศึกษาออกหนังสือรับรองความรู้ให้ สถานศึกษา ไม่มีอำนาจพิจารณาเอง

26.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ พ.ศ.2547                                                                                            
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง สถาบันศึกษาปอเนอะ พ.ศ.2547 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28เมษายน พ.ศ. 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีเนื้อหาสาระดังนี้
                ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนอะจังหวัด ทำหน้าที่จดทะเบียนสถาบันปอเนอะและมีหน้าที่ส่งเสริม กำกับ และสนับสนุนสถานศึกษาปอเนอะที่ได้จดทะเบียนแล้ว ให้นายทะเบียนออกหลักฐานการจดทะเบียนสถาบันสถานศึกษาปอเนอะ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับร้องขอ พร้อมเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง ตามแบบ ป.น. 2 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม    

27.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ (ฉบับที่2) พ.ศ.2548
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง สถาบันศึกษาปอเนอะ ด้วยกระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ. 2547 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อหาสาระดังนี้
                ให้ยกเลิกคำนิยามคำว่า โต๊ะครูและ ผู้ช่วยโต๊ะครูในข้อ 3 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
  “โต๊ะครูหมายความว่า ผู้สอนที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนและเป็นเจ้าของปอเนาะ
 “ผู้ช่วยโต๊ะครูหมายความว่า ผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีซึ่งโต๊ะครูให้ช่วยสอนในปอเนาะกรณีที่ผู้เรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นเด็กที่ต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 โต๊ะครูและผู้ปกครองต้องจัดให้เด็กได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ หรืออาจพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาอื่นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาวิชาสามัญในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม

 28.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วย การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการ ดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการ ดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ผู้ลงนามในระเบียบ นายไพฑูรย์ จัยสิน อธิบดีกรมสามัญศึกษา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการ
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
                การมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน ให้คำนึงถึงความเป็นอิสระ  การบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมอื่นๆ ของผู้รับมอบอำนาจเพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการในระยะเริ่มแรกที่มีการกำหนดตำแหน่งอัตรา หรือแต่งตั้งข้าราชการดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่ ผู้อำนวยการมอบหมาย หรือมอบอำนาจตามระเบียบนี้

29.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์  การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ.2551
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง หลักเกณฑ์  การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
                เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจในการสั่งการ การอนุญาต และการอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ให้มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีหรือแนวทางที่ใช้เป็นกรอบที่ชัดเจนในการกำกับดูแล การฏิบัติราชการตามโครงการและแผนงานของผู้รับผิดชอบการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามการมอบอำนาจ ตามงาน โครงการที่กำหนดไว้ในลักษณะภาพรวมเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมอบอำนาจต่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อยปีละครั้ง
30.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549 โดยที่ให้เป้นสมควรตามระเบียบการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ผู้ลงนามในระเบียบ นางพรนิภา  ลิมปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
               
31.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551                                                                                                                                                                                                      
                ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา โดยเห็นเป็นการสมควรในการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้เป็นไปในทางเดียวกัน ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือมีการจัดซื้อจากรายได้ของสถานศึกษา ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษารับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนามสถานศึกษา เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และเก็บรักษาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินไว้ในที่ปลอดภัยไม่ให้สูญหาย ให้สถานศึกษาจัดทำทะเบียนรับและจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาไว้เป็นหลักฐาน การรื้อและจำหน่ายอาคาร สิ่งปลูกสร้าง อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้ที่ราชพัสดุให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่ราชพัสดุที่เกี่ยวข้อง